วิวัฒนาการช้าง สัตว์บกที่ครองตำแหน่งใหญ่ที่สุดในโลก

ช้าง เป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งอาศัยอยู่ในแถบแอฟริกา ยูเรเซียและอเมริกาเหนือ โดยช้างทั้งหมดนั้นมีสปีชีส์อยู่ทั้งหมดประมาณ 185 สปีชีส์ ซึ่งช้างที่วิวัฒนาการจนสามารถอยู่รอดมาจนเป็นช้างสมัยใหม่ในปัจจุบันจะอยู่ในวงศ์ Elephantidae ของลำดับ Proboscidea และวัฒนาการมาเมื่อประมาณ 16 ล้านปีก่อน ตรงกับสมัยไมโอซีนตอนกลาง โดย Elephantidae เป็นวงแตกแขนงออกมาเป็นบรรดาช้างต่างๆอย่างช้างสมัยใหม่ รวมถึงช้างดึกดำบรรพ์บางส่วนก็อยู่ในวงศ์นี้ด้วยเหมือนกันช้างดึกดำบรรพ์ที่ว่าก็คือ เหล่าแมมมอธตัวใหญ่ ขนปุ่ย ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้วนั่นเอง 

ช้างที่ยังไม่สูญพันธุ์

ช้างที่ยังไม่สูญพันธุ์จากจำนวนสปีชีส์ทั้งหมดของช้างที่เคยอาศัยและกำลังอาศัยอยู่บนโลกราวๆ 185 สปีชีส์ ในปัจจุบันช้างเหลือแค่ 3 สปีชีส์ใหญ่ๆเท่านั้น ได้แก่ 

  • african bush elephant  พวกมันเป็นสปีชีส์ที่ตัวใหญ่ที่สุด และชื่อเรียกของพวกมันก็มาจากการที่พวกมันชอบอาศัยอยู่ตามพุ่มไม้ในแอฟริกา ลำตัวของ african bush elephant สูงประมาณ 3-4 เมตรและหนักราวๆ 8,000 กิโลกรัม มีงาเป็นทรงตรงที่ยาวได้ถึง 2.5 เมตร  
  • Asian elephant เป็นสปีชีส์ที่มีความสูงประมาณ 3.4 เมตร และหนักประมาณ 5,500 กิโลกรัม รวมแล้วขนาดตัวและหูจะเล็กกว่าช้างแอฟริกา รวมถึงงาก็เล็กและสั้นมากๆจนบางทีคนก็คิดว่าพวกมันเป็นช้างที่ไม่มีงาด้วยซ้ำ โดย Asian Elephant นั้นประกอบด้วย Bornean Elephant , Sri lankan Elephant, Sumatran Elephant , และ Indian Elephant 
  • African Forest Elephant  ตัวเล็กที่สุดในที่นี้พวกมันมีความสูงประมาณ 2.4 ถึง 3 เมตรและหนักประมาณ 2,000 ถึง 5,000 กิโลกรัม

วิวัฒนาการของช้างลำดับ Procedia

วิวัฒนาการprocedia เปลี่ยนไปค่อนข้างมาก เพราะในอดีตพวกมันไม่มีงวงไม่มีงาและตัวเล็กมากก่อนจะค่อยๆมีงวงมีงา แต่อาจจะอยู่ในลักษณะและตำแหน่งที่แตกต่างกับช้างปัจจุบันใหม่ ก็มีฟันที่เห็นได้เด่นชัดกว่า รวมถึงในช่วงแรกๆช้างจะไม่ได้ตัวใหญ่มหึมาแบบนี้ พวกมันมีขนาดที่ค่อนข้างเล็กมาก่อน บรรพบุรุษของช้างในยุคแรกๆเกิดขึ้นมาบนโลกของเราเมือง 65 ล้านปีก่อน ซึ่งตรงกับสมัยพาลีโอซีน 4 ในช่วงแรกพวกมันยังมีลักษณะเป็นสัตว์ที่ตัวเล็กและไม่มีงารูปร่างหน้าตาแทบไม่เหมือนกับช้างที่เราเห็นกันทุกวันนี้อย่าง 

Phosphatherium Escuilliei โดยหน้าตาจะคล้ายกับหมูมากกว่า และเป็นบรรพบุรุษของช้างในยุคแรกๆอาศัยอยู่ในแถบแอฟริกาเหนือ พวกมันมีลำตัวค่อนข้างเล็กขนาดความยาวลำตัวอยู่ที่ประมาณ 60 ซม. ถือว่าเล็กที่สุดในบรรดา Proboscidea มีลักษณะกระโหลกที่ยาวและราบจต่ำ จุดเด่นของพวกมันมีงวงและงาที่ต่างจากช้างสมัยใหม่ เพราะว่าพวกมันมีโพรงจมูกที่สูงใหญ่แต่ไม่มีสิ่งที่ยื่นออกมายาวๆจนสามารถเรียกกันว่างวงได้ ซึ่งรูปทรงจมูกแบบนี้เป็นแบบที่คาดว่าจะช่วยให้พวกมันใช้ชีวิตในน้ำได้ดีแบบ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เลยนอกจากนี้ยังมีฟันที่เรียงกันด้วยความยาวประมาณ 8 เซนติเมตร ซึ่งกินพื้นที่เกือบครึ่งหนึ่งของกะโหลกศีรษะ แต่หลังจากนั้นเจ้าตัวจมูกสั้นก็เริ่มมีวิวัฒนาการจมูกที่ยาวขึ้นเหมือนกับตัวกินหด 

Moeritherium เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแถบพื้นที่ชุ่มน้ำในแอฟริกาเหนือ ซึ่งรูปร่างลักษณะคล้าย Phosphatherium Escuilliei ไม่มีงายาว ตัวใหญ่กว่านิดหน่อย ประมาณ 70 ซม. มีฟันเริ่มงอกออกมาจากกรามด้านบนเอาไว้เคี้ยวพืช ที่เหมือนฮิปโปโปเตมัส พวกมันเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของบรรพบุรุษช้างช่วงเริ่มต้น เพราะมีแค่ฟันแหลมๆด้านบนและด้านล่างของปาก ยังไม่มีงวงยาวๆยังมีแค่รูจมูกที่ยื่นออกมาและยังไม่มีงา ซึ่งส่วนนี้ต่อไปจะพัฒนากลายเป็นงวงและงาอย่างที่เราคุ้นเคยกัน ด้วยงวงเป็นเนื้อเยื่อที่เริ่มงอกออกมาตรงช่องเปิดของกะโหลกศีรษะหรือ External naris ซึ่งถ้าในมนุษย์ก็จะเป็นรูจมูกนั่นเอง สำหรับช้างงวงจะช่วยอำนวยความสะดวกในการหาและหยิบจับอาหารจากพื้นจากที่สูงและช่วยในการดื่มน้ำจากแหล่งน้ำทำให้ไม่ต้องก้มหน้าลงไปใกล้เกินไปส่งผลให้พวกมันอยู่ในท่าเตรียมพร้อมตั้งรับต่ออันตรายที่อาจจะเข้ามาได้ทันท่วงทีด้วย ส่วนงาที่พัฒนาจากฟันก็จะช่วยในการขุดหาอาหารเหมือนกันซึ่ง Proboscidea ช่วงที่มีการพัฒนางวงและงา เราจะได้เห็นความหลากหลายของพวกมัน เช่น บางชนิดก็มีงาน 4 กิ่ง บางชนิดก็มีงวงแบน และบางชนิดก็มีงวงพาดผ่านงานทั้ง 2 กิ่ง

Deinotherium มีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 7 ถึง 1 ล้านปีก่อน ขนาดตัวใหญ่กว่าราวๆ 5-6 เมตรและสูงประมาณ 3.6 ถึง 4 เมตร งาของ Deinotherium มีลักษณะชี้ลงทั้ง 2 กิ่ง ไม่เหมือนกับช้างสมัยใหม่ที่โค้งออกถ้าไม่ผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานว่ามันน่าจะใช้งานในการขุดหาอาหารหรือไม่ก็ช่วยในการจดจำคู่ครอง ในช่วงที่ค้นพบฟอสซิลผู้ชี่ยวชาญเรียงงาของมันกับของฉันในปัจจุบันโดยไดโนเทอเรียมนั้นแบ่งออกเป็น 3 สปีชีส์ได้แก่ 

  1. Deinotherium Indicum มีถิ่นอาศัยอยู่ในอินเดีย 
  2. Deinotherium Gigateum มีถิ่นอาศัยอยู่ในยุโรป 
  3. Deinotherium Bozasi มีถิ่นอาศัยในแอฟริกาตะวันออก 

นอกจาก Phosphatherium Escuilliei , Moeritherium , Deinotherium ยังมีสัตว์ในวงศ์ที่มีซึ่งลักษณะก็จะคล้ายๆกันอีกเช่น Numidotherium , Barytherium และ Gomphotherium 

การค้นพบซากที่เป็นต้นกำเนิดของช้างในปัจจุบัน

ปัจจุบันช้างเป็นสัตว์บก ที่ครองตำแหน่งใหญ่ที่สุดในโลก แต่ถ้าหากย้อนเวลากลับไปเมื่อหลายสิบล้านปีก่อนจะพบว่าบรรพบุรุษในยุคเริ่มแรกของช้าง กลับมีขนาดตัวเท่าหมูเท่านั้น ความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมได้ส่งผลให้ช้างมีวิวัฒนาการจนกลายเป็นสัตว์ใหญ่ที่สุดบนพื้นโลก นักวิทยาศาสตร์สาขาสัตววิทยาได้พบหลักฐานสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นกำเนิดของช้างในปัจจุบัน ซึ่งได้เกิดขึ้นบนโลกเมื่อประมาณ 50 ล้านปีจากซากฟอสซิลบริเวณทะเลสาบโมเออริส ในประเทศอียิปต์ ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา 

ซากฟอสซิลช้างที่ค้นพบในไทย

ในประเทศไทยได้มีการขุดพบฟอสซิลช้างดึกดำบรรพ์ถึง 10 สกุลจาก 55 สกุลที่พบทั่วโลก ซึ่งได้สำรวจพบในแหล่งบ่อดูดทรายพื้นที่ตำบลท่าช้าง ช้างทอง และตำบลพระพุทธ ตั้งแต่พ.ศ 2538 จนถึงปัจจุบันรวมจำนวน 11 บ่อ ช้างดึกดำบรรพ์ที่พบมีช่วงอายุอยู่ในช่วง 16-0.01 ล้านปีก่อน ได้แก่

  1. ช้าง 4 งากอมโฟธีเรียม มี 4 งาโดยงาคู่บนงอกโค้งงอลงมาคร่อมมาคู่ล่างสูงประมาณ 2.5 เมตรพบในช่วง 25-6 ล้านปีก่อน ในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา มีอายุราว 16-11 ล้านปีก่อน 
  2. ช้างงาจอบเล็กโปรไดโนธีเรียม มีเฉพาะงาคู่ล่างและโค้งงอลงมา ขนาดตัวเล็กกว่าไดโนธีเรียมสูงประมาณ 2.5 ถึง 2.8 เมตร พบในช่วง 21-16.8 ล้านปีก่อน ในอำเภอเฉลิมพระเกียรติจังหวัดนครราชสีมา มีอายุราว 16.8 ล้านปีก่อน 
  3. ช้างงาเสียมโปรตานันคัส มี 4 งา งาคู่ล่างอยู่ชิดกันและแบนคล้ายเสียมสูงประมาณ 2.5 เมตรพบในช่วง 18.5 ถึง 12.8 ล้านปีก่อน ในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา มีอายุราว 16 ถึง 12.8 ล้านปีก่อน 
  4. ช้างเตตระโลโฟดอน มี 4 งาขากรรไกรล่างสั้นกว่ากอมโฟธีเรียม สูงประมาณ 2.6 เมตร พบในช่วง 12.4 ถึง 7.8 ล้านปีก่อน ในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา มีอายุราว 12.4 ถึง 7.8 ล้านปีก่อน 
  5. ช้างสเตโกโลโฟดอน ในรุ่นดั้งเดิมมี 4 งา งาคู่ล่างมีขนาดเล็กมาก ส่วนรุ่นใหม่ไม่มีงาคู่ล่างสูงประมาณ 2.5 ถึง 3 เมตรพบในช่วง 18-6.5 ล้านปีก่อน ในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมามีอายุราว 13 ถึง 6.5 ล้านปีก่อน 
  6. ช้างไซโกโลโซดอน ในรุ่นดั้งเดิมมี 4 งา งาคู่ร่างเล็กมาก ส่วนรุ่นใหม่ไม่มีงาคู่ล่างฟันมีลักษณะเป็นสันคล้ายแอบเทียมวัวสูงประมาณ 2-2.5 เมตร พบในช่วง 18-5 ล้านปีก่อนในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา มีอายุราว 13 ถึง 6.5 ล้านปีก่อน 
  7. ช้างงาจอบใหญ่ไดโนธีเรียม มีเฉพาะงาคู่ล่างและโค้งงอลงมาขนาดตัวใหญ่กว่าโปรไดโนธีเรียม สูงประมาณ 3.6-4 เมตร พบในช่วง 12-1.8 ล้านปีก่อนในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมามีอายุราว 12.2 ถึง 1.8 ล้านปีก่อน 
  8. ช้างไซโนมาสโตดอน มีงาเฉพาะคู่บน แต่ฟันมีลักษณะคล้ายช้าง 4 งา สูงประมาณ 2-2.5 เมตรพบในช่วง 6.5 – 2.5 ล้านปีก่อน ในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา มีอายุราว 2.5 ล้านปี
  9. ช้างสเตโกดอน มี 2 งาเฉพาะคู่บนมักมีงาขนานและใกล้กันมากจนต้องพาดงวงออกนอกร่องงาแต่ปลายงาแยกออกด้านข้างอย่างชัดเจน สูงประมาณ 2.8 ถึง 3.8 เมตร พบในช่วง 7.3 ล้านปีถึง 1.2 หมื่นปีก่อน ในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา มีอายุราว 6 ล้านปีก่อน ถึง 1.2 หมื่นปีก่อน 
  10. ช้างเอลิฟาส มีลักษณะเหมือนช้างเอเชียหรือช้างไทยปัจจุบัน สูงประมาณ 2.5 ถึง 3 เมตร พบในช่วง 3.4 ล้านปีก่อนถึงปัจจุบัน ในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมามีอายุราว 2 ล้านปีก่อนถึงปัจจุบัน

สัตว์ป่าเพิ่มเติม : worldofanimals.co
เกร็ดความรู้อื่นๆ : ควายป่า