หมีสีน้ำตาล สัตว์นักล่าที่มีขนาดใหญ่ยักษ์และโดดเด่นที่สุดชนิดหนึ่งของโลก
ณ กลางดินแดนทุรกันดารมีสิ่งมีชีวิตที่ยิ่งใหญ่ด้วยรูปลักษณ์ที่เกรงขาม ชวนให้สัตว์น้อยใหญ่ต้องหลบซ่อนเมื่อพบเห็นนั่นคือ หมีสีน้ำตาล สัตว์นักล่าที่มีขนาดใหญ่ยักษ์และโดดเด่นที่สุดชนิดหนึ่งของโลก หมีชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย ได้ชื่อว่าเป็นหมีที่มีการกระจายพันธุ์มากที่สุดในโลกพวกมันเป็นสิ่งมีชีวิตที่กินไม่เลือกตั้งแต่ผลเบอร์รี่ รากไม้ ไปจนถึงปลาแซลมอน มีบุคคลิกโดดเด่นเฉพาะตัวฉลาดหลักแหลม ร่วมกันท่องไปในโลกของหมีสีน้ำตาล ค้นพบความงามและความแข็งแกร่งของสิ่งมีชีวิตที่เป็นสัญลักษณ์ของความดิบเถื่อนแห่งธรรมชาติ

ลักษณะโดยทั่วไปของหมีสีน้ำตาล
หมีสีน้ำตาล (อังกฤษ: brown bear; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ursus arctos) เป็น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อ (Carnivora) หมีสีน้ำตาลเป็นหนึ่งใน สัตว์บกกินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นรองเพียงมีขั้วโลกที่มีขนาดเฉลี่ยใหญ่กว่าเล็กน้อยเท่านั้น พวกมันอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าและภูเขาของทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย มีที่อยู่ในยุโรปจะพบมากในพื้นที่ป่าบนภูเขา ส่วนหมีไซบีเรียจะชอบอยู่ในป่าดง ขณะที่มีในอเมริกาเหนือมีทุ่งหญ้าบนเทือกเขาแอลและแนวชายฝั่งเป็นบ้าน หมีสีน้ำตาลถูกแบ่งเป็นชนิดย่อยตามแหล่งที่อยู่ อย่างพวกที่อยู่ในอเมริกาเหนือเรียกว่า หมีกริซลี พวกที่อยู่ในเกาะโคดิแอกของอลาสก้าเรียกว่า หมีโคดิแอก ส่วนพวกที่อยู่ในเทือกเขาหิมาลัยตะวันตก เรียกว่า หมีแดงหิมาลัย แต่ไม่ว่าจะอยู่ในแถบถิ่นไหนหมีสีน้ำตาลก็นิยมชมชอบที่อยู่อาศัยที่มีกำบังหนาแน่น เพื่อให้พวกมันรู้สึกมั่นคงปลอดภัย
ลักษณะของหมีสีน้ำตาล
หมีสีน้ำตาลสูงได้ตั้งแต่ 5-8 ฟุต ทำให้เป็นสัตว์ที่ดูสูงและใหญ่ สามารถหนักได้ตั้งแต่ 300-500 กก. แต่ยังมีหมีที่น้ำหนักสูงที่สุดคือ หมีสีน้ำตาลของอลาสก้า สามารถหนักได้ถึง 680 กิโลกรัมเลยทีเดียว จากขนาดตัวที่กล่าวมานี้ จึงไม่แปลกเลยที่มีสีน้ำตาลขึ้นชื่อว่ากินเก่งเป็นที่สุด แต่ในฤดูใบไม้ผลิหมีสีน้ำตาลที่โผล่ออกมาจากถ้ำจะดูผอมลงเล็กน้อยและอาจชั่งน้ำหนักได้น้อยลงพอสมควร โดยรูปลักษณ์ภายนอกอาจจะทำให้เราคิดไม่ถึงว่าหมีสีน้ำตาลเป็นนักวิ่งที่รวดเร็วจนน่าตกใจ สามารถวิ่งเร็วได้ถึง 40-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ฉะนั้นหากคุณบังเอิญเจอหมีสีน้ำตาลในป่า จะต้องเว้นระยะห่างและชื่นชมพวกมันจากระยะปลอดภัย โดยไม่พยายามเข้าไปใกล้เป็นอันขาด นอกจากนี้หมีสีน้ำตาลยังเป็นหมีที่ว่ายน้ำได้ ขนหนาของหมีเป็นส่วนที่ทำให้ หมีว่ายน้ำได้ รวมถึงแขน ขา และร่างกาย ที่สามารถข้ามผ่านแม่น้ำทะเลสาบหรือแม้แต่ทะเลใกล้ชายอุ้งเท้าหน้าในการเคลื่อนตัวไปข้างหน้า และใช้ขาหลังบังคับทิศทาง

ลักษณะนิสัยและการกินอาหาร
สำหรับการงีบหลับในฤดูหนาวครั้งต่อไป หมีสีน้ำตาลกินทั้งพืชและสัตว์ ทั้งยังเป็นนักล่าอันดับต้นๆของห่วงโซ่อาหาร พวกมันอาจกินสัตว์อื่นอย่างหนูหรือกวางมูท และหมีสามารถกินอาหารได้มากถึง 40 กิโลกรัมต่อวัน อาหารส่วนใหญ่ของพวกมันประกอบด้วยถั่ว เบอรี่ ผลไม้ ใบไม้ และรากไม้ นอกจากนั้นมีสีน้ำตาลยังสนุกไปกับการจับปลาแซลมอนกิน ซึ่งอุดมไปด้วยไขมันที่เป็นส่วนสำคัญ
การสืบพันธุ์ของหมีสีน้ำตาล
ในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน โลกอันป่าเถื่อนของหมีสีน้ำตาลก็อบอวลไปด้วยกลิ่นอายแห่งรัก เพราะเป็นฤดูกาลหาคู่ได้มาถึงแล้ว ในฤดูนี้หมีสีน้ำตาลจะทิ้งชีวิตสันโดษและมองหาเพศตรงข้าม สิ่งที่หมีตัวผู้ต้องทำคือเอาชนะใจหมีตัวเมียให้ได้ บางครั้งหมีตัวผู้อาจแข่งขันประชันกันเพื่อเรียกร้องความสนใจจากหมีตัวเมีย ไม่ว่าจะด้วยการทำท่าทางข่ม การคำราม หรือปะทะกันด้วยร่างกาย ศึกแห่งความรักในการสานสัมพันธ์ หมีตัวผู้จะต้องทำอย่างระมัดระวัง เพราะหากมีตัวเมียไม่ปลื้มมันอาจถูกตบด้วยอุ้งเท้าได้ แต่ถ้ามันจีบหมีตัวเมียได้สำเร็จมันจะกลายเป็นผู้พิทักษ์ เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีหนีตัวไหนย่างก้าวเข้ามาใกล้ มีตัวผู้จะทำหน้าที่คุ้มกันหมีตัวเมียเป็นเวลาประมาณ 1-3 สัปดาห์ ในช่วงเวลานี้คู่รักหมีสีน้ำตาลจะสร้างพันธะที่ล้ำลึกและน่าเกรงขาม
ซึ่งนำไปสู่การถือกำเนิดของทายาทหมี หมีสีน้ำตาลตัวเมียมีสไตล์การเป็นแม่ที่ไม่เหมือนใครพวกมันจะหลบเข้าในถ้ำขณะตั้งท้องและจำศีลตลอดฤดูหนาว ในช่วงเวลาของการนอนหลับแสนสบายพวกมันได้นำชีวิตใหม่มาสู่โลก เมื่อหมีตัวแม่ได้ตื่นขึ้นและลืมตา จะพบได้ว่าว่าตัวเองถูกล้อมไปด้วยก้อนขนปุยแสนน่ารักนั่นคือ ลูกๆของมันนั่นเอง ลูกหมีตัวจิ๋วที่ตาปิดแล้วเปลือยเปล่าต้องพึ่งพาการดูแลจากแม่เป็นเวลากว่า 2 ปี ระหว่างนั้นแม่หมีจะสอนให้ลูกๆเรียนรู้วิธีธรรมชาติและพัฒนาทักษะการเป็นหมีที่มีคุณภาพ ในเวลาเพียง 6 เดือนน้ำหนักของลูกหมีอาจเพิ่มขึ้นเป็น 24 กิโลกรัม เปลี่ยนจากก้อนขนปุยเล็กๆที่ทำอะไรไม่ถูก กลายเป็นนักผจญภัยตัวน้อยที่แข็งแรงและขี้สงสัย ซึ่งในภายภาคหน้าจะเติบโตไปเป็นหมีตัวโตและใช้ชีวิตอยู่ในป่าเป็นเวลา 20-30 ปีตามอายุขัยโดยทั่วไป

การอนุรักษ์หมีสีน้ำตาล
ด้วยความที่ หมีสีน้ำตาลเป็นสัตว์บกที่ใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่ง พวกมันจึงไม่ต้องหวั่นกลัวว่าจะถูกสัตว์สายพันธุ์ไหนและเป็นอาหารศัตรูเดียว ที่ทำให้พวกมันกังวลได้ก็คือเพื่อน มีสีน้ำตาลที่อาจตีกันเองเป็นครั้งคราวอย่างไรก็ตามหมีสีน้ำตาล ยังต้องเผชิญกับภัยคุกคามของมนุษย์จากภายนอก นั่นคือการลักลอบล่าสัตว์อย่างผิดกฎหมาย รวมถึงการสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัยจากการตัดไม้ทำลายป่าและการทำเหมืองแร่ ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อจำนวนประชากรหมีสีน้ำตาล
แต่ก็โชคดีที่เรายังไม่ต้องกังวลเรื่องความเสี่ยงในการสูญพันธุ์เพราะทุกวันนี้มีสีน้ำตาลอยู่ทั่วโลกประมาณ 190,000 ตัว โดยประเทศที่มีหมีสีน้ำตาลมากที่สุดคือ รัสเซีย ซึ่งมีอยู่ 100,000 ตัว หมีสีน้ำตาลเป็นตัวแทนของความแข็งแกร่งและความยืดหยุ่นในการปรับตัว พวกมันยังคงเดินเตร่ในป่า แหวกว่ายในน้ำและจำศีลในถ้ำ ย้ำเตือนเราถึงสมดุลซับซ้อนของธรรมชาติและความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตที่งดงามเหล่านี้ให้อยู่คู่ผืนป่าไปอีกนานแสนนาน