ผีเสื้อ เผยต้นกำเนิดของแมลงที่สวยงาม

ผีเสื้อ เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่มีความสวยงามในจำนวนบรรดาแมลงทั้งหลาย อยู่ในอันดับเลพิดอปเทรา (Lepidoptera) โดยนักวิทยาศาสตร์กว่า 80 คน รวมถึงนักวิจัยของ NHM Vijay Barve ระบุว่าผีเสื้อมีต้นกำเนิดในอเมริกาเหนือหรืออเมริกากลางเมื่อประมาณ 100 ล้านปีก่อน ผีเสื้อกลางคืนกลุ่มหนึ่งเริ่มบินในเวลากลางวันแทนที่จะเป็นกลางคืน โดยใช้ประโยชน์จากดอกไม้ที่อุดมไปด้วยน้ำหวานซึ่งวิวัฒนาการร่วมกับผึ้ง เหตุการณ์เดียวนี้นำไปสู่การวิวัฒนาการของผีเสื้อทุกชนิด ปัจจุบัน ผีเสื้อถูกจำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ ผีเสื้อกลางวัน (Butterfly) และผีเสื้อกลางคืน (Moth) และนอกจากผีเสื้อจะให้ความสวยงามแล้ว ยังช่วยผสมพันธุ์พืช เพราะขณะที่ผีเสื้อบินลงไปดูดน้ำหวานนั้น ผีเสื้อก็จะช่วยผสมเกสรให้โดยไม่รู้ตัว

การเจริญเติบโตของผีเสื้อ

ผีเสื้อเป็นแมลงที่มีขนาดใหญ่ มีลวดลายและสีสันที่สวยงาม นักชีววิทยากล่าวประมาณว่าผีเสื้อมีวิวัฒนาการมาจากแมงปอ และแมลงเต่าทอง มีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้มาแล้วกว่า 56 ล้านปี ผีเสื้อในโลกนี้มีทั้งหมด 7,000 ชนิด ซึ่งผีเสื้อในประเทศไทยมีประมาณ 1,500 ชนิด พบได้ทั่วไปทั่วประเทศ ตัวอย่างผีเสื้อไทยที่พบบ่อย ได้แก่ ผีเสื้อหนอนกะหล่ำ ผีเสื้อหนอนกะทิ ผีเสื้อหนอนกระท่อม ผีเสื้อหนอนคูณ ผีเสื้อนางพญากะทิ ผีเสื้อนางพญาเสือโคร่ง เป็นต้น ผีเสื้อเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการเจริญเติบโตที่น่าสนใจ ผีเสื้อมีการเจริญเติบโตแบบโฮโลเมตาโบลัส (holometabolous) มีการเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบสมบูรณ์แบบ 4 ระยะ

วงจรชีวิตของผีเสื้อ

การเจริญเติบโตในแต่ละขั้นตอน ผีเสื้อจะมีรูปร่างที่ไม่เหมือนกัน รวมไปถึงการเจริญเติบโตของผีเสื้อในแต่ละช่วงของวงจรชีวิต ต้องการอาหารแตกต่างกัน และอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน มีศัตรูชนิดต่างกัน ทำให้การเจริญเติบโตในแต่ละระยะมีอัตราการเสี่ยงต่อการถูกทำลาย ผีเสื้อมีวงจรชีวิตประมาณ 1 เดือนขึ้นอยู่กับแต่ละชนิด โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะดังนี้ 

  1. ระยะไข่ หลังจากผีเสื้อตัวเมียได้รับการผสมพันธุ์แล้วสักระยะ ก็จะออกบินไปหาพื้นที่วางไข่บนใบไม้ หลังจากวางไข่เสร็จแล้ว จะเห็นไข่เล็กๆเกิดขึ้น และมีตัวหนอนเล็กๆภายในไข่
  2. ระยะตัวหนอน ในช่วง 3-5 วัน ไข่จะเริ่มฟักเป็นตัวหนอน อาหารอย่างแรกของตัวหนอนก็คือเปลือกไข่ของตัวเอง จากนั้นจะเริ่มกินใบอ่อนพืช และลอกคราบ 4-5 ครั้ง เพื่อเป็นการขยายขนาดตัว
  3. ระยะดักแด้ หนอนที่โตเต็มที่ จะหยุดกินอาหารเป็นเวลา 7-10 วัน แล้วจะปล่อยใยออกมาพันรอบลำตัวเพื่อทำดักแด้ ถือเป็นช่วงเวลาอันตรายที่สุด แล้วมันจะนิ่งที่สุดเพื่อเป็นการพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
  4. ระยะผีเสื้อ 7-10 วัน ผีเสื้อจะออกจากดักแด้ ใช้เวลา 1 ชั่วโมงให้ปีกแข็งแรงก่อนที่จะเริ่มบิน ผีเสื้อมีชีวิตอยู่ได้ 2-3 วัน หรือ 1-2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ แต่ก่อนจะตาย ผีเสื้อจะกลับเข้ามาวางไข่ และกลายเป็นวงจรเดิม

ลักษณะของผีเสื้อ

ผีเสื้อ เป็นแมลงไม่มีโครงกระดูกสันหลังเหมือนแมลงชนิดอื่นๆ แต่มีปลือกนอกแข็ง มีสารจำพวกไคตินห่อหุ้มร่างกาย ภายในเปลืกมีกล้ามเนื้อยึดเกาะ และลำตัวของผีเสื้อแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง มีวงแหวนหลายๆวงเชื่อมต่อกันทั้งหมด 14 ปล้อง แบ่งออกเป็นส่วนหัว 1 ปล้อง ส่วนอก 3 ปล้อง และส่วนท้อง 10 ปล้อง มีปีก 2 คู่ มีปีกที่สวยงาม มีสีสันแตกต่างกันออกไป ในส่วนผีเสื้อเพศผู้และเพศเมียก็จะมีความคล้ายกัน แตกต่างกันบ้างเล็กน้อย แม้แต่ลักษณะรูปร่างที่มองดูเผินๆจะแยกไม่ออก แต่ถ้าหากสังเกตุดีๆจะพบได้ว่าผีเสื้อเพศเมียจะมีก้นแหลมกว่าเพศผู้

โครงสร้างของผีเสื้อ

ผีเสื้ออออ
  1. หนวด
  2. ตาประกอบ
  3. ปาก
  4. เขา
  5. ปีกคู่บน
  6. ปีกคู่กลาง
  7. ขาคู่หน้า
  8. ขาคู่กลาง
  9. ขาคู่หลัง
  10. ปล้องส่วนก้น

ความแตกต่างของผีเสื้อกลางวันและกลางคืน

ผีเสื้อกลางวัน

  • ออกหากินในเวลากลางวัน
  • มีหนวดรูปกระบอง ปลายใหญ่
  • เวลาพักจะพักโดยกางปีกตั้งตรงเหนือตัว
  • ลำตัวผอม ยาวเรียว ไม่มีขน

ผีเสื้อกลางคืน

  • ออกหากินในเวลากลางคืน
  • มีหนวดหลากหลายรูปแบบ แบบใบไม้ และแบบปล้องไผ่
  • ผีเสื้อกลางคืนจะพักโดยกางปีกราบกับพื้น
  • ป้อม สั้น มีขน

อาหารของผีเสื้อ

ผีเสื้อจะมีปากที่เป็นท่อวงคล้ายกับหลอดดูด เพื่อใช้ในการดูดของเหลวจากดอกไม้ ซึ่งอาหารหลักๆก็คือ น้ำหวานจากดอกไม้ แต่บางชนิดก็อาจจะมีกินของเหลวอย่างเช่น น้ำผลไม้เน่าที่ไหลออกมา น้ำเลี้ยงต้นไม้ และมูลสัตว์เปียก และผีเสื้อกลางคืนบางชนิดจะใช้ขากรรไกรในการเคี้ยวเกสรของดอกไม้

ความสำคัญผีเสื้อกับระบบนิเวศ

ผีเสื้อเพิ่มคุณค่าทางเศรษฐกิจในระบบนิเวศและความสวยงาม ที่สำคัญ ในฐานะที่เป็นแมลงผสมเกสรดอกไม้ ผีเสื้อช่วยในการปลูกผักและผลไม้และในการขยายพันธุ์พืชในป่า ในทางนิเวศวิทยา พวกมันทำหน้าที่เป็นอาหารของสัตว์หลายชนิด เช่น สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และแมลงอื่นๆ เนื่องจากมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ยังสามารถใช้เป็นสัญญาณเตือนถึงสภาวะที่เป็นอันตรายได้ดีอีกด้วย

สัตว์ป่าเพิ่มเติม : worldofanimals.co
เกร็ดความรู้อื่นๆ : จิงโจ้ 

โพสที่เกี่ยวข้อง