กระซู่

ลักษณะโดยทั่วไปของกระซู่ สัตว์ป่าสงวนในไทย

กระซู่ หรือ แรดสุมาตรา (Sumatran rhinoceros) เป็น สัตว์ป่า ที่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กีบคี่จำพวกแรด กระซู่เป็นแรดที่มีขนาดเล็ก บริเวณลำตัวมีผิวหยาบและขนยาวปกคลุม โตเต็มที่จะสูง 120-145 ซม. มีน้ำหนัก 500-800 กก. ลักษณะเด่นของกระซู่ คือมีนอ 2 นอ คล้ายกับ แรดแอฟริกา นอด้านหน้าจะใหญ่กว่าด้านหลัง และเพสผู้จะมีนอขนาดใหญ่กว่าเพศเมีย หรือเพศเมียบางตัวก็ไม่มีนอ และไม่มีจุดสังเกตุอื่นที่แบ่งเพศได้อย่างชัดเจน โดยทั่วไปแล้วกระซู่มีอายุประมาณ 30-45 ปี เมื่ออาศัยอยู่ตามธรรมชาติ

กระซู่มีทั้งหมด 3 สปีชีส์ย่อย ดังนี้

  1. D.s. sumatrensis หรือ แรดสุมาตราตะวันตก มีเหลืออยู่ราว 75-85 ตัวเท่านั้น ส่วนใหญ่พบอยู่ในอุทยานแห่งชาติ Bukit Barisan Selatan และ Gunung Leuser บนเกาะสุมาตรา
  2. D.s. harrissoni หรือ แรดสุมาตราตะวันออก หรือ แรดบอร์เนียว พบตลอดทั้งเกาะบอร์เนียว ปัจจุบันคาดว่าสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้ว เหลือเพียง 3 ตัวในที่เลี้ยง เป็นตัวผู้ 1 ตัว และตัวเมียอีก 2 ตัว ซึ่งทั้งสามตัวนี้ไม่พร้อมที่จะผสมพันธุ์
  3. D.s. lasiotis หรือ แรดสุมาตราเหนือ เป็นสปีชีส์ย่อยเดียวที่มีการกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดียและประเทศบังกลาเทศ แต่ได้ประกาศว่ามีการสูญพันธุ์จากประเทศเหล่านั้นไปแล้ว

ถิ่นที่อยู่อาศัยของกระซู่

แหล่งที่อยู่กระซู่ จะอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ราบสูงและในป่าดิบชื้น ที่เต็มไปด้วยภูเขาสูงชัน ใกล้แหล่งแม่น้ำและลำธาร ที่เต็มไปด้วยพุ่มไม้ กระซู่มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทางทิศเหนือของพม่า ทางทิศตะวันออกของประเทศอินเดีย รวมถึงบังคลาเทศอีกด้วย

อาหารของกระซู่

กระซู่ออกหาอาหารในช่วงก่อนที่พระอาทิตย์จะตกและในตอนเช้าก่อนพระอาทิตย์จะขึ้น กระซู่กินใบไม้ ผลไม้ กิ่งไม้ เป็นอาหาร และกินอาหารมากถึง 50 กก./วัน จากมูลของสัตว์ที่นักวิจัยค้นพบอาหารมากกว่า 100 สปีชีส์ที่ได้กินเข้าไป ส่วนใหญ่จะเป็นไม้อ่อน ทั้งงนี้การกินอาหารของกระซู่จะเปลี่ยนแปลงไปตามพื้นที่และบริเวณที่ได้อาศัย พืชส่วนใหญ่ที่กระซู่กินจะเป็นสปีชีส์ในวงศ์เปล้า วงศ์เข็ม และ วงศ์โคลงเคลง โดยทั่วไปแล้วกระซู่จะกินพืชสกุลหว้า

กระซู่

การอนุรักษ์กระซู่

ในปัจจุบันกระซู่ถูกจัดอยู่ใน สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ ของ IUCN Red List และยังได้ขึ้นบัญชีเป็น สัตว์สงวนในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ได้บรรจุบัญชีสัตว์ป่าสงวนของไทยไว้จำนวน 19 ชนิด เนื่องจากมีจำนวนประชากรของกระซู่คงเหลืออยู่เพียงประมาณ 80 ตัวเท่านั้น ภัยคุกคามหลักต่อกระซู่ ได้แก่ การล่าเอานอ การสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย และการแย่งพื้นที่กับมนุษย์จึงถูกล่าและถูกทำร้าย ดังนั้นจำเป็นที่จะช่วยกันอนุรักษ์กระซู่ที่เหลืออยู่เพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพให้กับโลก เพื่อปกป้องไม่ให้เกิดการสูญพันธุ์ของสัตว์ป่าหายากชนิดนี้ 

สัตว์ป่าอื่นๆที่น่าสนใจ : ฮิปโปโปเตมัส